โครงการ การศึกษารูปแบบการจัดการวงจรขยะชุมชนแบบครอบคลุม โดยใช้แนวคิดการพึ่งพากัน ของระบบนิเวศเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดการขยะที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม
(A Study of Community Waste Fiow Management through Urban Symbiosis Concept for Sustainable Waste Management : The Case Study of Maha Sarakham Municipality)
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร. เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้ร่วมวิจัย
- ผศ.ดร. พลกฤษณ์ จิตร์โต อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ผศ.ดร.ดิฐา แสงวัฒนะชัย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- อ.ดร.สุธนา บุญเหลือ อาจารย์ประจำคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทสรุปย่อผู้บริหาร
-
-
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) (ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย, ประเด็นวิจัย, input, และ outputs ในระยะต่าง ๆ)
ต้นน้ำ : -
กลางน้ำ : -
ปลายน้ำ : -
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง (Urban Environmental Management) ด้านเศรษฐศาสตร์เมือง (Urban Economics) และด้านการจัดการเมือง (Urban Management) เพื่อศึกษาทั้งวงจรการจัดการขยะ (Wast Flow Management) ตั้งแต่ระดับแหล่งกำเนิด (input) สู่การกำจัดขยะ (from Cradle to Grave) ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามและบริเวณเกี่ยวเนื่อง โดยใช้แนวคิดการพึ่งพา (Symbiosis Concept)
- ใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง (Urban Environmental Management) ด้านเศรษฐศาสตร์เมือง(Urban Economics) และด้านการจัดการเมือง (Urban Management) เพื่อเพื่อนำมาสู่การหาแนวทางกำหนดต้นแบบของวงจร การจัดการขยะ (Waste Flow Management) รูปแบบใหม่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพบนแนวความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy)และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตั้งแต่ตั้งแต่ระดับแหล่งกำเนิด กระบวนการจัดเก็บ คัดแยก แปรรูปและการจัดการกำจัดขยะชุมชนปลายทาง โดยใช้วิธีการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Co-Creation) จากภาคีต่างๆในชุมชนทั้งภาครัฐอย่างส่วนราชการต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Authorities) ภาคเอกชนและภาคประชาชน บนพื้นฐานแนวคิดการพัฒนาทั่วถึง (Inclusive Development) และกระบวนการมีส่วนร่วม
ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการวิจัย
- Output
- องค์ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยภายใต้แนวคิดการพึ่งพากัน ของระบบนิเวศเมือง (Urban Symbiosis)
- เข้าใจการจัดการขยะมูลฝอยของเมือง และความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันระหว่างมิติทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเศรษฐศาสตร์ และการบริหารจัดการ
- ข้อเสนอแนะด้านการสร้างแนวทางการวิจัยก่อนเข้าสู่เมืองที่ต้องการจัดการขยะมูลฝอยภายใต้แนวคิดการพึ่งพาอาศัยกันของระบบนิเวศเมือง รูปแบบจัดเก็บข้อมูล การสร้างเครื่องมือเพื่อศึกษาพื้นที่ ฯลฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ - Impact
- เพื่อการค้าและการพัฒนาผลงานที่ส่ง สกว. (ผลงานสมบูรณ์ที่ใช้ในการตรวจรับงาน)